0921259224
82/14 ถ นิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ซอย 4, หาดใหญ่, สงขลา 90110
หมอ กรกช กระดูกและข้อ ม.อ.
หมอกระดูกและข้อหาดใหญ่
หมอโรคเท้าและข้อเท้าหาดใหญ่
ปวดส้นเท้าหาดใหญ่
คลินิกกระดูกและข้อหาดใหญ่
ซื้อรองเท้าหาดใหญ่
ยินดีให้คำปรึกษา
โรคเก๊าท์ (Gout)
โรคเก๊าท์เป็นโรคซึ่งเกิดจากการมีความผิดปกติในกระบวนการเผาผลาญอาหารของร่างกาย (เมตาโบลิสซึ่ม) ทำให้เกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงแล้วมีการสะสมผลึกของเกลือยูเรตในเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย
อาการแสดงของโรคเก๊าท์ มีลักษณะดังนี้
1. มักพบในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 40 ปี ขึ้นไป อายุก่อน 30 ปี พบได้น้อย
2. พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ชาย : หญิง ประมาน 10 : 1 และเพศหญิงมักพบในวัยหลังหมดประจำเดือน
3. ระยะแรกมักมีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน เป็น ๆ หาย ๆ ครั้งละ 1 – 2 ข้อ และนานไม่เกิน 7 – 14 วัน
4. ตำแหน่งของข้ออักเสบ มักพบที่ข้อของขา เช่น ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่าตามลำดับ
5. ระยะสุดท้ายผู้ป่วยจะมีอาการข้ออักเสบเรื้อรังพร้อม ๆ กัน หลาย ๆ ข้อ และบางครั้งอาจพบมีการสะสมของผลึกเกลือยูเรตตามส่วนต่างๆของร่างกาย ภายในข้อและชั้นใต้ผิวหนังรอบๆ ข้อเรียกว่า โทไฟ (Tophi) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีโทไฟขนาดใหญ่และจำนวนมาก จนทำให้ข้อผิดรูป และ เกิดความพิการตามมา
6. ผู้ป่วยบางรายมีหน้าที่การทำงานของไตลดลง ซึ่งอาจพบร่วมกับอาการนิ่วของกรดยูริคในทางเดินปัสสาวะ
7. มักพบมีภาวะกรดยูริคในเลือดสูงด้วยเสมอ
การรักษาและการป้องกัน
โรคนี้เป็นแล้วโอกาสที่จะหายขาดมีน้อยต้องรับการรักษาไปตลอดชีวิต การรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมตั้งแต่ในระยะแรกของโรค จะช่วยระงับและลดความถี่ของข้ออักเสบ จึงเป็นการยับยั้งการทำลายข้อ และป้องกันความพิการอย่างถาวรที่จะเกิดตามมาภายหลัง นอกจากนี้ ยังป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
1. ลดน้ำหนักตัวในผู้ป่วยที่อ้วน จะช่วยลดความรุนแรงของโรคลงได้
2. หลีกเลี่ยงสาเหตุส่งเสริมที่จะทำให้กรดยูริคในเลือดสูงขึ้น เช่น การดื่มสุรา เบียร์ การรับประทานอาหารซึ่งมีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ตับ เซ่งจี้ ตับอ่อน ฯลฯ และการใช้ยาแอสไพริน หรือยาขับปัสสาวะ
3. ควรดื่มน้ำมาก ๆ ผู้ป่วยโรคเก๊าท์มักมีโอกาสเกิดก้อนนิ่วในไตได้ง่าย การดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (ประมาณ 2 ลิตร) จะช่วยป้องกันได้มาก
4. สวมรองเท้าขนาดพอเหมาะ ไม่คับจนเกินไป เพราะจะทำให้ปวดข้อและอาการโรคเก๊าท์กำเริบเฉียบพลันได้
5. ออกกำลังกายแต่พอดี ไม่ควรหักโหมเกินไป
6. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เมื่อจะเดินทางไกล ควรนำยาติดตัวไปด้วย
7. มาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอตามนัด หรือเมื่อมีอาการข้ออักเสบเฉียบพลัน
ข้อแนะนำในการควบคุมอาหาร
อาหารที่ต้องงด
• เหล้า เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์
• เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง เซ่งจี้ ฯลฯ
• ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาดีน ซาดีนกระป๋อง
• กะปิ ไข่ปลา กุ้งชีแฮ้
• หอย ห่าน เนื้อไก่ เป็ด
• ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
• ซุปก้อน น้ำซุปต่าง ๆ น้ำเคี่ยวเนื้อ
• น้ำเกรวี่
• ชะอม กระถิน เห็ด
อาหารที่ต้องลด
• เนื้อหมู เนื้อวัว
• ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู
• ถั่วลิสง ใบขี้เหล็ก สะตอ
• ข้าวโอ๊ต ผักขม
• เมล็ดถั่วลันเตา หน่อไม้
อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ
• ข้าวต่าง ๆ (ยกเว้นข้าวโอ๊ต, ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำออก)
• ไข่ นม และผลิตภัณฑ์จากนม
• ผลไม้ต่าง ๆ
• ผักต่าง ๆ (ยกเว้นชนิดที่ระบุให้งด)
#คลินิกกระดูกและข้อหมอกรกช
#กระดูกและข้อหาดใหญ๋
#ปวดเท้าหาดใหญ่
#ปวดข้อหาดใหญ่