top of page

Os trigonum syndrome : ผมปวดด้านหลังข้อเท้าจัง ทำไงดี ภาค 1

"กูไปเตะบอลมา แล้วปวดข้อเท้าด้านหลังจัง กูเป็นอะไรเนี่ย?" เป็นคำถามจากเพื่อนสนิทผมเองครับ

"เอ็นร้อยหวายกูขาดรึเปล่าวะ? แต่กูยังเดินดีเลยนะ เนี่ยมึงเห็นป่าว?" เพื่อนผมยังถามต่อ แล้วก็บอกผมต่อว่า จริงๆมันปวดมานานเป็นเดือนแล้ว ปวดเวลา ขยับข้อเท้า โดยเฉพาะเวลาจิกเท้าลง ว่าแล้วก็ เอาเท้ากระดิกมาใกล้ๆหน้าผม(มันน่าช่วยไหมครับแบบนี้)

"เนี๊ยะ เจ็บตรงนี้" ว่าแล้วก็ชี้ไปทางด้านหลังตาตุ่มนอกประมาณ 1 cm ระดับข้อเท้า

"มึงช่วยคิดหน่อยซิ ว่ากูเป็นอะไร"

จึงเป็นที่มาของการหาคำตอบในวันนี้ครับ

คือหากคำถามมาแบบนี้คำตอบที่อยากตอบมันมีเยอะเหลือเกินครับ เนื่องจากเราจำเป็นต้องได้ข้อมูลที่ละเอียด ทั้งจากประวัติ การตรวจร่างกาย รวมไปถึงบางครั้งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ทางการตรวจช่วยเสริม จึงจะได้คำตอบที่แม่นยำที่สุด

อย่างไรก็ตาม จากสิ่งที่เพื่อนผมเล่ามา ถือว่าเป็นประโยชน์ระดับนึง เพราะทำให้เราคิดถึงโรคหรือสาเหตุที่เกิดได้แคบลง เพราะมีบางข้อมูลที่จำเพาะต่อการวินิจฉัยพอสมควร

ระยะเวลาที่เป็น ตำแหน่งที่ปวด ท่าทางที่ทำให้ปวด เหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ เพราะฉะนั้น อย่าลืมนะครับ เวลาไปหาหมอ สิ่งที่สำคัญที่สุด อันดับแรกเลย คือการร่วมมือในการให้ข้อมูลของคนไข้ ยิ่งได้ข้อมูลมากเท่าไร ยิ่งเป็นประโยชน์เท่านั้น

หลังจากนั้น ผมได้ทำการซักประวัติและตรวจร่างกายเพิ่ม ก็พบว่า

ตำแหน่งบริเวณเอ็นร้อยหวาย ไม่ปวดเลย ไม่มีความผิดปกติใดๆ(คงจำเอ็นร้อยหวายได้ใข่ไหมครับ) แต่จะปวดบริเวณด้านหลังตาตุ่มนอกเป็นสำคัญ และจะเจ็บเป็นพิเศษถ้าออกแรงให้ข้อเท้าอยู่ในท่าจิกปลายเท้าลงพื้น ส่วนบริเวณอื่นๆที่ตรวจนั้นก็ไม่พบว่าผิดปกติอะไร

ผมจึงนึกถึงภาวะนึงขึ้นมา ซึ่งเจอได้แม้ไม่บ่อย แต่สำคัญในกลุ่มนักกีฬาและนักเต้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องจิกข้อเท้า

นั่นคือ Os trigonum syndrome (เป็นไงครับ ชื่ออย่างหรอย ใช่ไหม โรคนี้ขออนุญาตทับศัพท์นะครับ เพื่อประโยชน์สำหรับคนที่จะนำไปค้นข้อมูลเพิ่มเติม) และกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับ posterolateral ankle pain

ผมจึงได้ทำการส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อวางแผนรักษาต่อไป

++++++++++++++++++

จากภาพ จะเห็นว่า เกิดการเสียดสีของข้อเท้าบริเวณด้านหลัง ทำให้เกิดอาการเจ็บตามมาได้

วิชาการนิดนึงนะครับ

การเสียดสีดังกล่าว อาจเกิดจากตัว Os trigonum เอง หรือ ส่วนของกระดูก talus ที่ยื่นออกมา เราเรียกว่า Stieda's process เสียดสีกับกระดูก tibia ส่วนปลายด้านหลัง

บางครั้งอาจเกิดการเสียดสีของเอ็นที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณดังกล่าว เช่น FHL ทำให้เกิดอาการปวดร่วมได้

หมอกระดูกและข้อหาดใหญ่ หมอโรคเท้าและข้อเท้าหาดใหญ่ ปวดส้นเท้าหาดใหญ่ ซื้อรองเท้าหาดใหญ่ ยินดีให้คำปรึกษา

Os trigonum syndrome : ผมปวดด้านหลังข้อเท้าจัง ทำไงดี ภาค 2

มาดูกันต่อนะครับ สำหรับเจ้าภาวะที่เรียกชื่อยากนี้

สำหรับการภาวะนี้นั้น สำคัญทั้งจากประวัติ ตรวจร่างกาย และ ภาพถ่าย X ray เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการวางแผนการรักษาที่ดี

หากเป็นจริง จะทำอย่างไร?

ส่วนใหญ่แล้ว คนที่มีภาวะนี้ มักได้รับการรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน

พัก ถ้าปวดมากอาจได้รับการรักษาโดยการใส่เฝือก และใช้ยาลดการอักเสบแก้ปวดช่วย

หากอาการยังไม่ดีขึ้น (ส่วนใหญ่แล้วจะดูกันที่ประมาณ 3 เดือน นับแต่เริ่มเป็น) แพทย์หลายๆท่าน จะแนะนำให้ผ่าตัดรักษา ซึ่งก็คือการผ่าตัดเอาเจ้ากระดูก os trigonum นี้ออกมานั่นเอง พบว่าได้ผลการรักษาที่ดี น่าพอใจ
อาการปวดดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ต้องอยู่ในดุลพินิจของคุณหมอและผู้ป่วยควรต้องปฎิบัติตัวตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัดนะครับ ผลการรักษาถึงจะดี ได้ตามเป้าหมาย

bottom of page